ประวัติโรงเรียนโดยย่อ

                            โรงเรียนหนองบัวพิทยาคมเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ เดิมสังกัดกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการ มีประวัติความเป็นมาดังนี้

                            พ.ศ.๒๕๓๓ นายเกียรติท้าวฮ้ายกำนันตำบลป่าคาและคณะได้เสนอขอให้นายกฤษณ์ สุวรรณประดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนท่าวังผาพิทยาคมเปิดสาขาโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ตำบลป่าคา ซึ่งกรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้เปิดเป็นโรงเรียนสาขา ในปีการศึกษา๒๕๓๖ ได้ขอใช้สถานที่และอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านหนองบัวทำการเรียนการสอนชั่วคราวโดยมีนายบุญช่วย เชียงหนุ้น ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนท่าวังผาพิทยาคมเป็นหัวหน้าสาขา

                            ในปีการศึกษา ๒๕๓๗  สภาตำบลป่าคาและราษฎรในหมู่บ้านใกล้เคียง ได้ขอใช้ที่ดินสาธารณะของบ้านหนองบัว เพื่อเป็นที่ตั้งโรงเรียนมีเนื้อที่ประมาณ ๕๐ ไร่ และได้สละทรัพย์และแรงงานสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๖๔ เมตร สร้างห้องน้ำห้องส้วม ประปา ไฟฟ้า สนามกีฬา และสิ่งจำเป็นอื่นๆคิดเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๐๐,๐๐๐บาท

                            วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๓๙ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกฐานะให้เป็นโรงเรียนมัธยมประจำตำบลป่าคาโดยให้ชื่อว่า “โรงเรียนหนองบัวพิทยาคม” และในปีการศึกษา ๒๕๔๑ ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ที่ตั้ง    221  หมู่  5  ตำบลป่าคา  อำเภอท่าวังผา  จังหวัดน่าน

คติพจน์     อสาธุสาธุนาชิเน      (พึงชนะความชั่วด้วยความดี)

คำขวัญ/ปรัชญา    รักการเรียน  เพียรทำดี  มีวินัย

สีประจำโรงเรียน      ชมพู–เขียว

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา    สิ่งแวดล้อมเด่น  เน้นวัฒนธรรม

อัตลักษณ์ของนักเรียน     รักษ์สะอาด  มารยาทงาม

 

วิสัยทัศน์

            มุ่งจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลบนพื้นฐานของความเป็นไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สังคมอนาคตอย่างยั่งยืนในศตวรรษที่ 21

 

พันธกิจ

             1. น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืนบนวิถีความเป็นไทยและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

             2. จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลบนพื้นฐานของความเป็นไทย มีความปลอดภัย โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา

             3. พัฒนาให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 นำไปสู่การมีอาชีพ มีงานทำ ส่งเสริมความเป็นเลิศ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

             4. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

             5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) โดยยึดหลักธรรมาภิบาลและพัฒนานวัตกรรมในการขับเคลื่อน

 

เป้าประสงค์

             1. สถานศึกษาน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน

             2. ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลบนพื้นฐานของความเป็นไทยมีความปลอดภัย โอกาส และความเสมอภาคทางการศึกษา

             3. ผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 นำไปสู่การมีอาชีพ มีงานทำ ส่งเสริมความเป็นเลิศ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

             4. ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 มีความรู้ สมรรถนะด้านวิชาการ ทักษะการจัดการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์

             5. ระบบบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology)   และมีนวัตกรรมในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการของสถานศึกษา

 

กลยุทธ์

             กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาสถานศึกษาโดยน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน

             กลยุทธ์ที่ 2 สร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการการศึกษาที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

             กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 สู่การมีอาชีพ มีงานทำ ส่งเสริมความเป็นเลิศ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

             กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

             กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) โดยยึดหลักธรรมาภิบาลและใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อน